โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 20 สิงหาคม 2561 1,170 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / The Power of 4G
20 ส.ค. 2561 อ่าน 3,980 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 72,405 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 1,676 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 945 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,307 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
22 ส.ค. 2561 อ่าน 14,656 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
บ่อยครั้งที่กลยุทธ์และแผนงานต่างๆที่ผู้บริหารได้ออกแบบจัดทำขึ้นมาเป็นอย่างดีไม่อาจช่วยนำพาองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามที่คาดหวังไว้ แล้วก็พาไปกล่าวโทษว่ากลยุทธ์เหล่านั้นเป็นกลยุทธ์ที่ไม่ดีบ้าง สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่ตรงกับสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ในช่วงของการวางแผนกลยุทธ์บ้าง การที่ไม่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากกลยุทธ์ที่ไม่ดีไม่เหมาะสมก็อาจจะมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นเพราะการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัตินั้นมีข้อบกพร่องมากกว่า เนื่องจากผู้บริหารทั้งหลายมักจะคิดกันว่าเมื่อได้คิดและออกแบบกลยุทธ์เสร็จสิ้นแล้วก็หมดหน้าที่ของตนในเรื่องนี้แล้ว ที่เหลือเป็นหน้าที่ของระดับรองๆลงไปที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ดังกล่าว เพียงแต่รอรับรายงานผลในแต่ละเดือนว่ามีความก้าวหน้าไปเพียงใด เข้าใกล้เป้าหมายที่คาดหวังไว้หรือยัง ซึ่งเมื่อบางสิ่งบางอย่างไม่เป็นไปดังที่หวังไว้ มีความผิดพลาดเกิดขึ้นการรอรับรายงานในการทบทวนผลการดำเนินงานประจำเดือนก็อาจจะสายเกินไปแล้ว ความสูญเสียหรือข้อผิดพลาดเหล่านั้นที่บางครั้งอาจจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อองค์กรก็ได้บังเกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาหรือการตัดสินใจก็มักจะกระทำกันในห้องประชุมแล้วสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติงาน โดยที่ผู้ปฏิบัติงานก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการประชุมด้วยเลย แม้กระทั่งในฐานะของผู้สังเกตการณ์ประชุมก็ตาม และบางองค์กรก็ยิ่งไปกว่านั้นถึงขั้นมอบหมายให้บุคลากรในระดับปฏิบัติการเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนงาน หรือกิจกรรมในการดำเนินงานประจำปีของหน่วยงานตนเสนอขึ้นมาให้เป็นส่วนหนึ่งแผนงานขององค์กร โดยที่ผู้บริหารระดับสูงก็ไม่ได้ตรวจสอบอย่างเพียงพอว่าแผนงานที่กำหนดขึ้นโดยระดับปฏิบัติการมี ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หรือภารกิจของหน่วยงานมากน้อยเพียงใด กิจกรรมที่กำหนดขึ้นมีความจำเป็นหรือมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
ไม่เพียงแต่ผู้บริหารขององค์กรเท่านั้นที่พบกับปัญหาของแผนกลยุทธ์ไม่มีประสิทธิผล ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์หลายคนก็พบกับปัญหาดังกล่าวว่าสิ่งที่แนะนำไปไม่สามารถนำ ไปสู่การปฏิบัติได้จริงและไม่เหมาะสมกับบริบททางธุรกิจขององค์กรที่กำลังให้คำปรึกษาแนะนำ แล้วก็เกิดการกล่าวโทษโยนบาปกันระหว่างที่ปรึกษาและผู้บริหารองค์กรถึงความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ฝ่ายที่ปรึกษาก็อ้างว่าองค์กรไม่ใส่ใจนำสิ่งที่ได้รับคำแนะนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้บริหารก็จะอ้างว่าคำแนะนำที่ได้รับมานั้นหลายๆสิ่งไม่สามารถดำเนินการได้จริงในทางปฏิบัติ ปรากฏการณ์ลักษณะนี้เป็นผลมาจากจุดอ่อนประการหนึ่งของการบริหารจัดการที่ละเลยในเรื่องของการให้ความสำคัญกับ กระบวนการและการลงมือปฏิบัติและการเชื่อถือในข้อมูลทุติยภูมิและหลงใหลในทฤษฎีหลักการต่างๆมากเกินไปแต่ไม่เข้า ใจอย่างถ่องแท้ถึงเบื้องหลังหรือสมมติฐานอันเป็นที่มาของทฤษฎีและหลักการเหล่านั้น
จุดอ่อนเช่นนี้สามารถจะถูกกำจัดได้ด้วยหลักการบริหารจัดการง่ายๆในสไตล์ตะวันออกแบบถึงลูกถึงคนที่เรียกว่า การบริหารจัดการด้วยการเดินไปรอบ (Management by Wandering Around) ที่แนะนำให้ผู้บริหารลงไปสัมผัสกับหน้างานจริงๆไม่ใช่บัญชาการอยู่บนหอคองาช้างหรือสิงอยู่ แต่ในห้องแอร์หลังโต๊ะทำงานอันใหญ่โตดังป้อมปราการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถรับรู้ถึงความเป็นจริงต่างๆจะได้สามารถนำมาวางแผนกลยุทธ์และแผนงาน แผนการพัฒนาและปรับปรุงที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้อง กับบริบททางธุรกิจขององค์กรและสถานการณ์ที่เปลียนแปลงไปตลอดเวลา ซึ่งก็ตรงกันกับหลักการบริหารจัดการที่ญี่ปุ่นเรียกว่า 4G ซึ่งประกอบด้วย
G ที่1 คือ Gemba หรือพื้นที่จริงหรือสถานที่จริงหรือหน้างาน (Actual Place) ซึ่งหมายถึง การที่ต้องลงไป ณ ที่เกิดเหตุหรือสถานที่ที่ปฏิบัติงาน จะได้เข้าใจถึงความเป็นไปของงานหรือองค์ประกอบแวดล้อมด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจถึงกลไกของการปฏิบัติงานตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจริง
G ที่2 คือ Genbutsu หรือของจริง (Real Thing or Actual Thing) ซึ่งหมายถึง การได้จับต้อง เห็นในองค์ประกอบของงานที่เป็นอยู่จริงซึ่งอาจจะเป็นวัตถุดิบที่ใช้ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่หน้างานได้สร้างสรรค์ขึ้น
G ที่3 คือ Genjitsu หรือสถานการณ์จริง (Actual Situation) หรือข้อมูลจริง (Fact) ซึ่งคงไม่จำเป็นต้องขยายความว่าหมายถึงอะไร แต่สิ่งที่ควรมุ่งเ้น้นคือความครบถ้วนของข้อมูลจริงอย่างเพียงพอ
G ที่4 คือ Genri หรือหลักการและทฤษฎี (Theory) เป็นการใช้หลักการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลเหมาะสมต่อ การแก้ไขปัญหาในงานหรือเพื่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นเลิศ เื่พื่อยืนยันกับข้อมูลจริงที่ได้มา
ถ้ามีการบริหารจัดการโดยยึดแนวทางของ 4G พลังอำนาจของการรับรู้ความเป็นจริง การลงมือกระทำจริง ด้วยข้อมูลจริง ย่อมจะช่วยทั้งผู้บริหารขององค์กรในทุกระดับและที่ปรึกษาสามารถวางแผนกลยุทธ์ ขับเคลื่อนกลยุทธ์และมาตรการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆได้บรรลุผลที่คาดหวังอย่างแน่นอน และจะไม่ปรากฎพบสถานการณ์ของความล้มเหลวหรือมีแผนกลยุทธ์ แผนงานหรือคำแนะนำที่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงอีกต่อไป
20 ส.ค. 2561 อ่าน 3,980 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 72,405 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 1,676 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 945 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,307 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
22 ส.ค. 2561 อ่าน 14,656 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Sales and Marketing อ่าน 6,279
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,745
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,522
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 90
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,251
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,526
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,426
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,474