หลักสูตรฝึกอบรม การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม Kaizen - หลักสูตร 1 วัน
(Effectiveness of Kaizen activity)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม Kaizen (Effectiveness of Kaizen activity)

ดร.ไมตรี บุญขันธ์

(วิทยากรที่ปรึกษาอุตสาหกรรม)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นกิจกรรมการบริหาร งานเชิงคุณภาพอันมีรากฐานกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นและได้รับความนิยมแพร่หลาย กลายเป็นที่รู้จักและสื่อสารกันในระดับสากล การทำไคเซ็นเป็นการสนับสนุนให้เกิดแนวความคิด ที่ว่าการทำไคเซ็นไม่ใช่เพิ่มภาระแต่มุ่งที่จะเลิก /ลด/เปลี่ยนภาระหรืองานที่ไม่จำเป็นมุ่งไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่าดังนั้นการทำไคเซ็น จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานทุกคน ที่จะได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรควรปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความรู้และความเข้าใจและสร้างจิตสำนึก ให้พนักงานทุกคนทุกระดับเรียนรู้วิธีการตลอดจนเทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตนซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐาน “ผู้ปฏิบัติงานหน้างานย่อมรู้งานของตนเองมากกว่าคนอื่นๆ“ โดยในท้ายที่สุดแล้วผู้ปฏิบัติงานย่อมมีความสะดวกสบาย ในการทำงานมากยิ่งขึ้นจากการปรับปรุงงานของตนเองตลอดเวลานั่นเอง คุณลักษณะของไคเซ็นจะเน้นการปรับปรุงทีละเล็กละน้อยและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยการ ปรับปรุงสามารถทาเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมก็ได้การทำไคเซ็นให้ประสบความสำเร็จต้องมีทัศนคติที่ดี ได้แก่ต้องละทิ้งความคิดเก่าที่ว่าไม่สามารถทำได้ และคิดใหม่ว่าทุกอย่างสามารถทาได้ (Can do) , อย่ายอมรับคำแก้ตัว , ไม่ต้องแสวงหาความสมบูรณ์แบบของการปรับปรุงงานก่อนลงมือทำ , ไม่จำเป็นต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมากมายเพื่อทำการปรับปรุง, การปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นไม่มีจุดสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเป็นต้น 
   โดยหลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจการแนวคิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็นแนวทาง / เทคนิคการปรับปรุงงานด้วยเครื่องมือต่างๆเช่น PDCA , QC7 Tools , 5S ฯลฯ โดยมีตัวอย่างกรณีศึกษาการทาไคเซ็นในระดับองค์กรชั้น นำเพื่อนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไปดังนั้น หากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนแนวคิดการดำเนินงานไคเซ็น อย่างจริงจังและสามารถผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน ผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรมข้อเสนอแนะของวิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง 
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและ ทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม
1. ไคเซ็นคืออะไร วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญและความหมายของวิธีการ ปรับปรุงงานแบบไคเซ็น 
2. หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงหลักการเบื้องต้นในการนำไคเซ็น มาใช้ในองค์กรรวมถึงข้อเสนอแนะวิธีการปรับปรุงงาน 
3. ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าถึงขั้นตอนในการปรับปรุงงานและเครื่อง มือที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงงานแบบไคเซ็น
4. เทคนิคในการมองปัญหา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้ถึงสาเหตุของปัญหาในการจัดทำ การปรับปรุงงานและสามารถวิเคราะห์ปัญหา พร้อมหา แนวทางในการแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด 
5. เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้ถึงเทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม 
6. กรณีศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและ แนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน
 พนักงาน
 ผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา
1. การบรรยาย 40 % 
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 40% 
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 20 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดาเนินงานไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน 
2. พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและความ ปลอดภัยในการทางานอย่างต่อเนื่อง 
3. สามารถนาไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในการทางานและเป็นต้นแบบสาหรับการขยายผลภายในองค์กรต่อไป
4. พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเช่น PCDA, 5S, QC7Toolsฯลฯร่วมกับ กิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้อย่างเหมาะสม

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม