หลักสูตรฝึกอบรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารทางจิต - หลักสูตร 1 วัน
(Citta Method Management Training Workshop)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารทางจิต (Citta Method Management Training Workshop)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
     - ในชีวิตคนเราทุกคนย่อมมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ กายและจิต ในวันหนึ่งๆคนเราให้เวลาในการบริหารบำรุงกายกันมาก บริโภคอาหารวันหนึ่งหลายมื้อ พักผ่อนหลับนอนเป็นเวลาหลายชั่วโมง ต้องหาเครื่องนุ่งห่ม สร้างที่อยู่อาศัย ต้องทำงานอื่นๆอันนับเนื่องว่าเป็นเรื่องของร่างกายอีกมากมาย แต่ส่วนทางจิตใจนั้นแบ่งเวลามาบริหารอาจจะไม่มากนัก ทั้งที่จิตใจนี้มีความสำคัญเพราะเป็นมูลฐานแห่งความประพฤติในทุกทาง ทั้งความเจริญความเสื่อม ความสุขความทุกข์ต่างๆ จิตใจเป็นผู้นำแห่งความประพฤติของคนเพราะว่าคนเราจะทำประพฤติอย่างไร ย่อมแล้วแต่จิตใจจะบ่งการหรือสั่งการ มีคำอุปมากายกับจิตว่า “จิตเหมือนนาย กายเหมือนบ่าว” ตัวเราของทุกคนย่อมมีศูนย์รวมอยู่ที่จิต จิตเป็นตัวชี้วัดของร่างกาย เพราะลำพังร่ายกายที่ปราศจากจิต ย่อมไร้ชีวิต ความดำรงชีวิตมีอยู่ตราบเท่าที่ยังมีจิตใจครองกาย จิตจึงมีความสำคัญแก่ชีวิตโดยเป็นตัวชีวิตทีเดียว จิตจึงเป็นสมบัติล้ำค่า เป็นแก้วสารพัดนึก สารพัดรู้ ที่ทุกคนมีอยู่แล้ว หากแต่เจ้าของอาจจะยังมิได้มีเวลาเจียระไน ไม่ได้ฝึกอบรมบริหารจิต ทำให้มีบางครั้งมีอาจมีจิตขุ่นมัว ผิดใจกัน สบายใจบ้างไม่สบายใจบ้าง บางคราวก็ผ่องใสสดชื่น บางคราวก็เศร้าหมอง ระทมทุกข์ไม่ร่าเริงแจ่มใส ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประ จำวัน และประสิทธิภาพในการทำงานได้
     - ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมทั้งปวงนั้นย่อมเนื่องมาจากจิตใจนั้น ผู้ที่มีจิตได้รับการฝึกอบรมมาดี ย่อมจะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทั้งปวงในทางที่ดี ฉะนั้นการอบรมบริหารจิต ถ้าจะกล่าวว่าเป็นการสร้างเสริม ก็เป็นการสร้างเสริมถึงต้นเหตุ ถ้าจะกล่าวว่าเป็นการแก้ก็เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ จิตที่ได้รับการบริหารอบรมแล้วจะแสดงลักษณะธาตุแท้ของจิตคือความผุดผ่องและความรู้ เปรียบเสมือนเพชรที่มีดินโคลนห่อหุ้มอยู่เมื่อดินโคลนถูกขัดล้างออกไปมากเพียงใด เพชรก็ย่อมแสดงตัวชัดเจนยิ่งขึ้นเพียงนั้น การฝึกอบรมบริหารจิตก็เช่นเดียวกัน ฝึกมากและจริงจังความผุดผ่องและความรู้ย่อมปรากฏตามกำลังสติปัญญาของผู้ฝึก ซึ่งก่อให้เกิดเป็นประโยชน์สุขแก่ตัวผู้เป็นเจ้าของจิตใจเองมากอย่างที่ไม่นึกฝันมาแต่ก่อน และจะพึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กร ต่อสังคมส่วนร่วมและประเทศชาติสืบต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจิตใจของตน
2. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เข้าอบรมมีจิตใจที่เข้มแข็ง กล้าหาญ กล้าเผชิญความจริงด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้อง
3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมมีสติสัมปชัญญะ และมีสมาธิในการจัดการกิจการงานอย่างสุขุมรอบคอบ
4. เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ลดความขัดแย้งในใจ ลดความไม่เข้าใจกัน ลดความวิตกกังวล ลดความเครียด
5. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้เข้าอบรมให้มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความสุข มีความมุ่งมั่น ตลอดจนใช้ความคิดให้เจริญปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
จิตคืออะไร
จิตสำคัญอย่างไร
จิตเป็นอย่างไรจึงต้องเอาชนะ
หลักวิธีในการบริหารจิต
วิธีหัดทำความตั้งใจหรือวิธีหัดทำสมาธิในการทำงาน
วิธีเสริมกำลังให้แก่จิต
วิธีฝึกปัญญาด้วยการปฏิบัติ
แบบฝึกหัดตั้งสติ
สติกับสัมปชัญญะ
สติกับปัญญา
วิธีระงับความโกรธ
สุขทุกข์เกิดจากใจ
ใจที่ฝังของความคิด
วิธีควบคุมความคิด
 ความดีสำคัญกว่า
จิตไม่มั่น ปัญญาไม่เต็ม
ทำอย่างไรให้เป็นผู้ไม่มีภัย
จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม