หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์กลไกการเกิดปัญหา - หลักสูตร 1 วัน
(Phenomenal Mechanism (P-M) Analysis)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์กลไกการเกิดปัญหา (Phenomenal Mechanism (P-M) Analysis)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและแนวความคิด
 ในการปรับปรุงคุณภาพการผลิต เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defects) หรือเข้าใกล้ศูนย์ให้มากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปเราจะนิยมใช้ 7 QC Tools โดยมี Pareto และ Ishikawa Diagram (หรือแผนผังก้างปลา) เป็นพระเอก ร่วมกับการวิเคราะห์ตามหลัก Six Sigma อย่างไรก็ตามแม้ว่า 7 QC Tools จะช่วยให้เราจัดการกับปัญหาที่ตรวจพบและปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นได้ แต่ปัญหาทั้งหมดกลับยังไม่หมดไป
เครื่องมือ QC Tools เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมในการจัดการกับของเสียที่เห็นได้เด่นชัด หรือที่เรียกว่าของเสียชนิด Sporadic Losses หรือของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตามยังมีของเสียอีกชนิดหนึ่งที่เสียเป็นปกติ เสียเป็นประจำ แต่ในจำนวนไม่มากจนเราคิดว่ามันเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการออกแบบการผลิต และแก้ไขได้ยากซึ่งอาจจะต้องลงทุนมากจนเกินความจำเป็นหากต้องการแก้ปัญหาให้หมดไปจริง ๆ ทำให้เกิดการปล่อยปละละเลยมันจนกระทั่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่คอยทำลาย Yield ในการผลิต ให้ฝ่ายปฏิบัติการปวดหัวและหาข้อแก้ตัวได้ตลอดเวลา ซึ่งเราเรียกว่า Chronic Losses หรือของเสียที่เกิดเรื้อรัง (หาทางแก้ไม่พบ)
ปัญหาของ Chronic Losses ได้รับการจัดการด้วยวิธีการที่สร้างขึ้นมาโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน TPM (Total Preventive Maintance) สามคนคือ Kunio Shirose, Yoshifumi Kimura และ Mitsugu Kaneda โดยทั้งสามคนตั้งชื่อวิธีการใหม่นี้ว่า P-M Analysis (Phenomenon – Mechanism Analysis) เพื่อที่จะควานหาปัญหาที่ถูกปกปิด เก็บซ่อน และละเลย จนทำให้เป้าหมายของ Zero Defects ไม่ประสบผลสำเร็จ

วัตถุประสงค์
เรียนรู้หลักปรัชญาของ Zero Defects
เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงการวิเคราะห์ และแยกแยะปัญหาที่ทำให้เกิด Sporadic Losses และ Chronic Losses
เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงการวิเคราะห์ปัญหาระดับ Advanced Why Why Analysis หรือ Tree Diagram Analysis
เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของการละเลยความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะสร้างความเสียหายใหญ่โตได้ในภายหลัง
เพื่อเข้าใจขั้นตอนในการนำวิธีการ P-M Analysis ไปใช้ในการแก้ปัญหา

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
การเรียนการสอนจะคำนึงถึงแนวทางการเรียนรู้หรือที่เรียกว่า Road Map ดังนี้
      อบรม สัมมนา Mindset – ปรับความคิดและทัศนคติของผู้เข้าอบรมให้พร้อมกับการเข้าสู่การเรียนรู้
      อบรม สัมมนา Tool-sets – เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคที่สำคัญ
      อบรม สัมมนา Skill-sets – เพิ่มทักษะในการใช้เครื่องมือผ่าน Workshop

ตารางการอบรม
 Session 1:
   อบรม สัมมนา ปรัชญาของ Zero Defects
   อบรม สัมมนา ความแตกต่างของ Chronic Losses และ Sporadic Losses
   อบรม สัมมนา เปรียบเทียบการใช้ QC Tools แบบพื้นฐานกับ P-M Analysis
   อบรม สัมมนา พื้นฐานการวิเคราะห์ Physical Analysis (การวิเคราะห์สภาพการณ์)
Session 2:
   อบรม สัมมนา 8 ขั้นตอนในการนำ P-M Analysis ไปใช้งาน
        1. การอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแจ่มแจ้ง (Clarify the Phenomenon)
        2. การวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกิดขึ้น (Conduct a Physical Analysis)
        3. การชี้องค์ประกอบของเงื่อนไข (Identify Constituent Conditions)
        4. การศึกษาความสัมพันธ์ของสาเหตุหลัก 4M (Study 4Ms for Causal Factors)
        5. การสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุด (Establish Optimal Conditions)
        6. การค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ (Survey Causal Factors for Abnormalities)
        7. การตัดสินใจเลือกจัดการกับความผิดปกติที่ตรวจพบ (Determine Abnormalities to be addressed)
        8. การนำเสนอและการปรับปรุง (Propose and Make Improvements)
   อบรม สัมมนา Workshop and Case Study

ตัวอย่าง Work Shop / กรณีศึกษา
  Workshop เพื่อเพิ่มทักษะในการทดลองใช้ Tool ต่าง ๆ ที่เรียนมา ในระหว่างการอบรม และมีการทดสอบหลังจบการอบรม

รายละเอียดและเทคนิคที่อาจารย์ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรม
การฝึกอบรมจะเน้นการเล่าถึงประสบการณ์จริงที่ได้พบมาตามหัวข้อต่าง ๆ ในเอกสารบรรยาย เพื่อไม่ให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเบื่อหน่าย และต้องการให้ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการทำงานได้จริง ร่วมกับ Workshop โดยแบ่งเป็น Workshop/Lecture = 50/50

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม