หลักสูตรฝึกอบรม เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาหลายรูปแบบเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง - หลักสูตร 1 วัน
(Problem Solving to Improvement)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาหลายรูปแบบเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง (Problem Solving to Improvement)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

สภาพปัญหาที่พบ
     หลักสูตรการวิเคราะห์ปัญหา หรือแนวทางการวิเคราะห์มีความหลากหลายและมีหลายรูป ซึ่งแก่นของแต่ละเครื่องมือการวิเคราะห์แต่ละแบบ มีวัตถุประสงค์หรือรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าการนำเครื่องมือการวิเคราะห์แต่ละรูปแบบไปใช้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ อาจทำให้แนวทางวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการปฏิบัติไปสู่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน

     การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ต่าง ๆ เราต้องใจสถานะของปัญหาที่เกิดขึ้น  ว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งบางทีบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ เพียงแต่แค่ยกระดับวิธีการหรือออกมาตรการควบคุมก็สามารถทำได้ทันที  แต่อย่างไรกับปัญหาทีเกิดขึ้นที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาเรื่องคุณภาพของสินค้า หรือปัญหาที่เกิดจากหลายตัวแปรของการผลิต ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ได้ตรงกับหลักการ เพื่อให้ได้แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนที่สุด

ขั้นตอนของวิเคราะห์ของปัญหาที่เกิดขึ้น

     จากรูปด้านบน จะเห็นได้ว่าสถานะของปัญหาได้ อยู่ในรูปแบบใด ซึ่งเราก็จะสามารถเลือกใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ได้อย่างตรงประเด็น อย่างเช่น การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น (ปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านไปแล้ว และสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ได้อย่างชัดเจน) ซึ่งหลักการใช้  Why why analysis มีหลักเกณฑ์สำหรับผู้วิเคราะห์นั่นคือ ต้องประสพปัญหามาด้วยตนเอง จึงจะสามารถวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ 
     สำหรับการวิเคราะห์แบบการป้องกันปัญหาที่ไม่เคยเกิด การใช้ Why why analysis จะไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ ซึ่งควรจะใช้เครื่องมือใดหรือแนวทางใดในการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงเพื่อพิชิตให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด

กระบวนการปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ / การป้องกันการเกิดซ้ำ
     กิจกรรมที่ได้จากการวิเคราะห์ เราจะใช้เครื่องมือใดในการผลักดันกิจกรรมนั้นไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หลังจากการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพแล้ว การรักษากิจกรรมงานปรับปรุงให้ยังคงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด (Maintain Standard)  ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ จะต้องมีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงงานของพนักงานแบบปกติ โดยที่ไม่ควรไม่สร้างกิจกรรมคู่ขนานกับงานประจำที่มีอยู่ เพราะจะทำให้การนำปฏิบัตินั้นเกิดความยุ่งยาก จนไม่เกิดการนำไปปฏิบัติในที่สุด
     การนำมาตรฐานของการทำงานใหม่ มาปรับใช้กับแบบฟอร์มที่มีเดิม จึงเป็นที่เรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง แต่รูปแบบของแบบฟอร์มที่นำมาปรับใช้ ควรมีลักษณะสื่อสารง่าย ที่ใช้งานง่าย ซึ่งหลักงานใช้แบบฟอร์ม จึงจะเป็นที่จะต้องใช้หลักการ KAIZEN เข้าช่วยเสริมอีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรม มีความรู้ความเข้าใจของปัญหาเบื้องต้น การแก้ไขปัญหาอย่างง่าย ก่อนเลือกปัญหาไปสู่การวิเคราะห์
2. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรม เข้าใจวัตถุประสงค์เครื่องมือช่วย และสามารถนำไปใช้งานได้ถูกตามหลักการของเครื่องมือนั้น 
3. เพื่อยกระดับความสามารถของผู้เข้ารับการอบรมให้เป็นคนเก่ง และเป็นผู้มีความชำนาญในการวิเคราะห์ (Problem solving skill)

กลุ่มเป้าหมาย
สำหรับผู้บริหาร
ผู้จัดการ
หัวหน้างาน

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 09.00-12.00
ความเข้าใจของปัญหาที่เกิดขึ้นและเครื่องมือการวิเคราะห์
     - รูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้น 
     - การคัดเลือกปัญหาของการนำไปสู่การวิเคราะห์
     - การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น โดย Why Why Analysis
     - การวิเคราะห์กลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ โดย PM Analysis
     - การปรับปรุงโดยใช้หลักการกำจัดปัญหาลงศูนย์ (Poka-yoke concept)
     - การวิเคราะห์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น Why Why analysis By FMEA concept
 12.00-13.00  - พัก
 13.00-16.30
     - การปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสียแบบซ่อนเร้น โดยใช้หลักการ E-C-R-E & Kaizen
     - การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง โดย How How Chart                   
     - Work Shop การใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ [3-4 Group]    
     - นำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ ของแต่กลุ่ม 
     - Q&A

แนวทางการฝึกอบรม
 บรรยายและยกตัวอย่าง 70 % ; Work Shop 30 %
 ดำเนินการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อระดมความคิด โดยใช้ปัญหาจริงของบริษัทลูกค้าที่จัดเตรียมไว้

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม